การอ่านภาพถ่ายดาวเทียม

การอ่านภาพถ่ายดาวเทียมด้วยสายตา
หลังจากได้เรียนรู้เกี่ยวกับการได้มาและการแสดงผลข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมเบื้องต้นแล้ว เราควรศึกษาเกี่ยวกับการอ่านหรือแปลตีความภาพถ่ายดาวเทียม จะทำให้เราทราบได้ว่า วัตถุที่แสดงอยู่ในภาพนั้นเป็นอะไร เช่น พื้นดิน พื้นน้ำ  หรือสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น สำหรับวิธีการแปลตีความนั้น มี 2 วิธี คือ 1.การวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ ต้องใช้โปรแกรมประยุกต์ทางด้านภูมิสารสนเทศในการประมวลผล และ 2.การแปลตีความด้วยสายตา ซึ่งเป็นวิธีการอ่านภาพถ่ายดาวเทียมอย่างง่าย โดยใช้องค์ประกอบต่างๆ เพื่อช่วยในการสังเกต เช่น



การอ่านพิกัดบนภาพถ่ายดาวเทียม
ในการอ่านหรือแปลตีความภาพถ่ายดาวเทียมบางครั้งก็ไม่สามารถรู้ได้ว่า วัตถุที่เห็นบนภาพคืออะไร ดังนั้น การอ่านพิกัดหรือตำแหน่งของวัตถุบนภาพ จะช่วยให้เราสามารถนำพิกัดไปลงสำรวจภาคสนาม เพื่อตรวจสอบว่าวัตถุบนภาพคืออะไร  สำหรับการอ่านพิกัดบนภาพถ่ายดาวเทียมนั้น สามารถบอกเป็น ละติจูด (Latitude) หรือเส้นรุ้ง    และลองจิจูด (Longitude) หรือเส้นแวง โดย
เส้นรุ้ง  จะใช้บอกตำแหน่งในแนวเหนือ - ใต้ โดยอ้างอิงจากเส้นสมมุติรอบโลกที่มีระยะห่างจากขั้วโลกเหนือกับขั้วโลกใต้เท่าๆ กัน และตั้งฉากกับแกนหมุนของโลก หรือที่เรียกว่าเส้นศูนย์สูตร (Equator) โดยนับจาก 0 องศาที่เส้นศูนย์สูตรไปจนถึง 90 องศาที่บริเวณขั้วโลกเหนือหรือใต้
เส้นแวง จะใช้บอกตำแหน่งในแนวตะวันออก-ตะวันตก โดยอ้างอิงจากเส้นสมมุติรอบโลกที่ลากผ่านขั้วโลกทั้งสอง และผ่านหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ เมืองกรีนิช (Greenwich)ประเทศอังกฤษ  หรือที่เรียกว่า เส้นไพรม์เมอริเดียน (Prime Meridian)โดยนับจาก 0 องศาที่เส้นไพรม์เมอริเดียนไปจนถึง 180 องศาทางด้านตะวันออกหรือตะวันตก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น