• การบันทึกข้อมูลเป็นบริเวณกว้าง (Synoptic
view) ภาพจากดาวเทียมภาพหนึ่งๆ
ครอบคลุมพื้นที่กว้างทำให้ได้ข้อมูลในลักษณะต่อเนื่องในระยะเวลาบันทึกภาพสั้นๆ
สามารถศึกษาสภาพแวดล้อมต่างๆ ในบริเวณกว้างขวางต่อเนื่องในเวลาเดียวกันทั้นภาพ
เช่น ภาพจาก LANDSAT MSS และ TM หนึ่งภาพคลุมพื้นที่
185X185 ตร.กม. หรือ 34,225
ตร.กม. ภาพจาก SPOT คลุมพื้นที่ 3,600
ตร.กม. เป็นต้น
• การบันทึกภาพได้หลายช่วงคลื่น
ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรมีระบบกล้องสแกนเนอร์
ที่บันทึกภาพได้หลายช่วงคลื่นในบริเวณเดียวกัน
ทั้งในช่วงคลื่นที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า และช่วงคลื่นนอกเหนือสายตามนุษย์
ทำให้แยกวัตถุต่างๆ บนพื้นผิวโลกได้อย่างชัดเจน เช่น ระบบ TM มี 7
ช่วงคลื่น เป็นต้น
• การบันทึกภาพบริเวณเดิม (Repetitive
coverage) ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรมีวงโคจรจากเหนือลงใต้
และกลับมายังจุดเดิมในเวลาท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอและในช่วงเวลาที่แน่นอน เช่น LANDSAT
ทุก ๆ 16 วัน MOS ทุกๆ
17 วัน เป็นต้น ทำให้ได้ข้อมูลบริเวณเดียวกันหลายๆ
ช่วงเวลาที่ทันสมัยสามารถเปรียบเทียบและติดตามการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
บนพื้นผิวโลกได้เป็นอย่างดี และมีโอกาสที่จะได้ข้อมูลไม่มีเมฆปกคลุม
• การให้รายละเอียดหลายระดับ
ภาพจากดาวเทียมให้รายละเอียดหลายระดับ
มีผลดีในการเลือกนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาด้านต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ เช่น
ภาพจากดาวเทียม SPOT ระบบ PLA มีรายละเอียด
10 ม. สามารถศึกษาตัวเมือง
เส้นทางคมนาคมระดับหมู่บ้าน ภาพสีระบบ MLA มีรายละเอียด 20 ม.
ศึกษาการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เฉพาะจุดเล็กๆ และแหล่งน้ำขนาดเล็ก และภาพระบบ TM
รายละเอียด 30 ม. ศึกษาสภาพการใช้ที่ดินระดับจังหวัด
เป็นต้น
• ภาพจากดาวเทียมสามารถให้ภาพสีผสม (False
color composite) ได้หลายแบบ
ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ต้องการขยายรายละเอียดเฉพาะเรื่องให้เด่นชัดเจน
สามารถจำแนกหรือมีสีแตกต่างจากสิ่งแวดล้อม
• การเน้นคุณภาพของภาพ (Image
enhancement) ภาพจากดาวเทียมต้นฉบับสามารถนำมาปรับปรุงคุณภาพให้มีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
โดยการปรับเปลี่ยนค่าความเข้ม ระดับสีเทา
เพื่อเน้นข้อมูลที่ต้องการศึกษาให้เด่นชัดขึ้น
*อ้างอิงจาก : http://yingpew103.wordpress.com
*อ้างอิงจาก : http://yingpew103.wordpress.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น