การแสดงข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม

หากนำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมแต่ละช่วงคลื่น ที่ถูกเก็บในรูปของ layers โดยมีรายละเอียดของข้อมูลที่แตกต่างกันมาผสมกันตามแม่สีของแสง เพียง 3 สี เท่านั้น ก็จะได้ภาพที่เรียกว่า ภาพสีผสม ที่ช่วยเน้นรายละเอียดของข้อมูลได้มากกว่าการแสดงผลทีละช่วงคลื่น
การผสมสีด้วยข้อมูลหลายช่วงคลื่นสามารถเลือกช่วงคลื่นมาทำการผสมสีได้หลายรูปแบบ โดยส่วนใหญ่จะใช้เทคนิคการผสมสีแบบบวก โดยใช้แม่สีปฐมภูมิ คือ สีแดง(R) สีเขียว(G)และน้ำเงิน(B) และใช้โปรแกรมประยุกต์ ในการเลือกและผสมสี แล้วแสดงเป็นภาพถ่ายดาวเทียมที่ต้องการ              

สำหรับการสร้างภาพสีผสมสามารถสร้างได้ 2 แบบ ได้แก่
1. ภาพสีผสมแบบธรรมชาติ หรือ ภาพสีผสมจริง เป็นการนำเอาช่วงคลื่นที่ตามองเห็นทั้ง 3 คลื่น มาผสมกัน โดยช่วงคลื่นสีน้ำเงินให้แสดงผลเป็นสีน้ำเงิน ช่วงคลื่นสีเขียวให้แสดงผลเป็นสีเขียว ช่วงคลื่นสีแดงให้แสดงผลเป็นสีแดง ผลลัพธ์ที่ได้จะปรากฎสีต่างๆ เหมือนกับสีของวัตถุที่มองเห็นในธรรมชาติ เช่น พืชจะปรากฏเป็นสีเขียว น้ำเป็นสีน้ำเงิน และดินออกสีน้ำตาลแดง

2. ภาพสีผสมเท็จ เป็นการเลือกช่วงคลื่นมาแสดง แล้วทำให้สีของภาพ ไม่เหมือนกับสีจริงตามธรรมชาติ ซึ่งมีได้หลายรูปแบบมาก นำมาใช้ประโยชน์ เช่น การแยกแยะวัตถุ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น