การประยุกต์ใช้ข้อมูลจากการรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing) และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการควบคุมไฟป่า

Remote Sensing หรือเทคโนโลยีการรับรู้ระยะไกลเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลพื้นที่โดยอาศัยคลื่นแสงในช่วงความยาวคลื่นต่างๆ และ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในรูปแบบต่างๆ เช่น เรดาห์ ไมโครเวฟ วิทยุ เป็นต้น โดยอุปกรณ์รับรู้เหล่านั้นมักจะติดตั้งบนอากาศยาน หรือ ดาวเทียม เทคโนโลยี Remote Sensing เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่กว้าง

                                          
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) คือ เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ปรากฏการณ์เชิงพื้นที่หรือวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ส่งGIS ที่แสดงในรูปของภาพ (graphic) แผนที่ (map) ที่เชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data) หรือฐานข้อมูล (Database)การเชื่อมโยงข้อมูลทั้งสองประเภทเข้าด้วยกัน จะทำให้ผู้ใช้สามารถที่จะแสดงข้อมูลทั้งสองประเภทได้พร้อมๆ กัน เช่น สามารถจะค้นหาตำแหน่งของจุดที่เกิดไฟป่า หรือในทางตรงกันข้าม สามารถที่จะบอกรายละเอียดของการปกคลุมดินและประเมินสภาพการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่เกิดไฟป่านั้นด้วย โดย GIS มีระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ใช้ในการประมวลผล แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่คือ บุคลากรและข้อมูลที่ถูกต้องของพื้นที่นั้น ๆ ถึงแม้ว่าเราจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพขนาดไหนก็ไม่สามารถที่จะวิเคราะห์ได้ ถ้าปราศจากบุคลากรและข้อมูลที่ถูกต้อง
กรมป่าไม้ ได้นำข้อมูลจากดาวเทียมมาใช้ในการศึกษาและติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา สามารถจำแนกชนิดป่าไม้ ทั้งพื้นป่าบกและป่าชายเลน นอกจากนี้ยังนำไปใช้ประโยชน์ในการสำรวจพื้นที่ป่าถูกบุกรุก ป่าเสื่อมโทรม ไร่เลื่อนลอย สำรวจพื้นที่ปลูกสร้างสวนป่า และการประเมินหาพื้นที่เสียหายที่เกิดจากไฟป่า เป็นต้น

ในงานด้านการควบคุมไฟป่า สามารถใช้การสำรวจข้อมูลจากระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการประเมินพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกไฟไหม้และหมอกควันพิษจากไฟป่า และใช้ฐานข้อมูลที่ได้ในการวางแผนการจัดการและควบคุมไฟป่าของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี โดยหน่วยงานในกรมป่าไม้ได้มีการจัดโครงการฝึกอบรมเพิ่มความรู้แก่เจ้าหน้าที่ในการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศ 
ภูมิศาสตร์ (
GIS) ในงานป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่าอย่างต่อเนื่อง




                       


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น